คำยินดี

ยินดีตอนรับเข้าสู่บล็อคเกอร์ของดิฉันนางสาวเสาวภา เจริญคง เอกสังคมศึกษา คบ.2 หมู่.3 รหัส.544110121 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องจองกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี เเละสารสนเทศทางการศึกษา
2.เพื่อรู้หลักการเเนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี เเละสารสนเทศ
3.เพื่อออกเเบบการเรียนการสอนได้
4.เพื่อรู้ถึงเเนวโน้มในอนาคตเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศเเละการเรียนการสอน
5.เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

คุณธรรม จริยธรรม

หลักคุณธรรม จริยธรรม

หลักคุณธรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ด้าน

1. คุณธรรมที่ต้องประพฤติ

2. คุณลักษณะที่ละเว้น

คุณธรรมที่ต้องประพฤติ

หมายถึงความดีต่างๆ ที่ต้องประพฤติอยู่เสมอ อันได้แก่หน้าที่และมารยาทที่ต้องแสดงออก และคุณสมบัติที่ดีทางจิตใจ เช่น

1. หน้าที่ของบุคคลต่อพระเจ้า ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ตัวเองอยู่ต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงมองเห็นอยู่ตลอดเวลา จึงต้องทำแต่ความดี มีมารยาท และละเว้นการกระทำที่ผิดต่อบทบัญญัติของพระองค์

2. หน้าที่ของผู้รู้ ครูและผู้รู้โดยทั่วไป จะต้องสำนึกอยู่เสมอว่า ความรู้ที่ตนได้มานั้น เป็นไปโดยความเมตตาของผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงประทานให้ ดังนั้น จึงต้องเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่น ให้ได้รับความรู้ โดยไม่มุ่งหวังอามิสสินจ้างใดๆ ทั้งสิ้น และไม่นำความรู้ ไปสร้างสมบารมี หรือนำความรู้ไปแข่งขันกับใคร หรือทับถมผู้รู้อื่นๆ หรือหาประโยชน์อันมิชอบ

3. หน้าที่ของผู้ไม่รู้ ผู้ไม่รู้จะต้องศึกษาเพื่อจะได้มีความรู้ ความรู้มิได้จำกัดแต่เฉพาะความรู้ทางด้านสามัญ หรือ ศาสนา ด้านใดด้านหนึ่ง มุสลิมจะต้องเรียนรู้ความรู้ทั้งสองด้าน จนสามารถนำความรู้ความสามารถ ไปประพฤติทางด้านศาสนาอย่างดี และนำความรู้ด้านสามัญหรือวิชาชีพ ไปประกอบสัมมาอาชีพต่อไป และผู้เรียนรู้ทุกคน จะต้องให้ความเคารพต่อผู้สอน มีความนอบน้อมถ่อมตน พูดจาสุภาพ อ่อนโยน และคอยอุปถัมภ์ผู้สอนของตนอยู่เสมอ

4. หน้าที่ของลูก ลูกทุกคนมีหน้าที่ต้องระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ ต้องมีความกตัญญูกตเวทิคุณ ต่อท่านทั้งสอง ต้องคิดอุปการะท่านทั้งสอง ไม่ปล่อยให้ท่านทั้งสองต้องเดียวดาย อยู่กับความเหงา และต้องปรนนิบัติท่านทั้งสอง เป็นอย่างดีที่สุด

5. หน้าที่ของพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่มีลูก ก็ต้องเลี้ยงดูลูกอย่างดี ให้การดูแล ให้ความสุข ให้การศึกษา คอยอบรมบ่มนิสัย ให้เป็นคนดี มีมารยาท ไม่ปล่อยปละละเลยต่อลูก จนขาดความอบอุ่นทางจิตใจ เตลิดออกไปหาความสนุกสนานนอกครอบครัว พ่อแม่ต้องสร้างสถาบันครอบครัว ให้เป็นความหวังของลูก เป็นสวรรค์ของลูก อย่าทำให้เป็นนรกของลูก

6. หน้าที่ของเพื่อน คนทุกคนมีเพื่อน ไม่ว่าเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อนร่วมหมู่บ้าน จนถึงเพื่อนร่วมโลก ทุกคนต้องหวังดีกัน มีความประพฤติที่ดีต่อกัน ไม่ดูถูก ไม่เกลียด ไม่อาฆาตแค้น ไม่ทับถมหรือทำลายใคร ต่างคิดที่จะอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข

7. หน้าที่ของสามี ทั้งสามี - ภรรยา จะต้องมีหน้าที่พึงปฏิบัติต่อกัน กล่าวคือ สามีต้องรับผิดชอบ ในด้านการปกครองครอบครัว และการหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว และสามีจะต้องเป็นที่พึ่งของครอบครัว มีความประพฤติที่ดีงาม ต่อคนในครอบครัว เป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่คนในครอบครัวโดยสม่ำเสมอ ไม่ทิ้งครอบครัวออกไปหาความสุขนอกบ้าน และต้องตักเตือนและสอนภริยาและคนในครอบครัว

8. หน้าที่ของภริยา ภริยามีหน้าที่ช่วยเหลือสามีในด้านต่างๆ คอยสอดส่องดูแล เป็นกำลังใจให้สามี ให้ความสุขแก่สามี และต้องต้อนรับแขกของสามีด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส และด้วยความจริงใจ ไม่นินทาสามีลับหลัง ไม่บ่นหรือก้าวร้าวสามี หากสามีทำผิด ก็เตือนด้วยความหวังดี และครองสติ ไม่โมโห ให้เกียรติสามี และอยู่ในโอวาทของสามี

9. หน้าที่ของผู้นำ ผู้นำทางสังคมในตำแหน่งต่างๆ ที่ถูกแต่งตั้งหรือเลือกตั้งก็ตาม จะต้องปฏิบัติตนต่อผู้ตาม ด้วยความเมตตาและด้วยความนอบน้อม ไม่ถือตัว พูดจาสุภาพอ่อนโยน เมื่อจะใช้อำนาจ ก็ใช้ด้วยความยุติธรรม มีความกล้าหาญ และกล้าตัดสินใจ ไม่ลังเล ไม่อ่อนแอ ไม่ขลาดกลัว ต้องประพฤติดี พร้อมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับประชาชน ต้องเสียสละทุกสิ่ง เพื่อประชาชน

10. หน้าที่ของประชาชน ประชาชนในฐานะผู้ตาม จะต้องเคารพผู้นำกฎต่างๆ ที่ออกมาโดยชอบธรรม ประชาชนต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด ผู้ตามจะคิดกระด้างกระเดื่องไม่ได้ แต่ก็กล้าหาญที่จะเตือนผู้นำ เมื่อผู้นำทำผิด หรือออกกฎหมายโดยไม่ชอบธรรม ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่ดี รักษาและปกป้องเกียรติยศ ของผู้นำที่มีคุณธรรม ไม่ละเมิดต่อสิทธิของผู้นำ และสิทธิของประชาชนด้วยกัน

คุณลักษณะที่ต้องละเว้น

มีคุณลักษณะที่มุสลิมต้องละเว้นอยู่มากมาย ล้วนเป็นข้อห้ามที่อิสลามได้บัญญัติไว้ พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านร้ายทางจิตใจ ซึ่งเมื่อใครมี หัวใจของเขาก็จะมืดบอด เช่น ความโกรธ ความอิจฉา ริษยา ความเกลียดชัง ความตระหนี่ ความโลภ ความยะโส ความลำพอง ความโอ้อวด เป็นต้น

2. เกี่ยวกับความประพฤติโดยทั่วไป เช่น ความฟุ่มเฟือย การพูดมาก ความเกียจคร้าน การเอารัดเอาเปรียบ การดูถูกคนอื่น การรังแกผู้อื่น การฉ้อโกง การนินทาใส่ร้าย ส่อเสียด การลักขโมย การปล้น การฉกชิงวิ่งราว การล่วงประเวณี การพนัน การประกอบอาชีพทุกจริต การดื่มสุราและของมึนเมา การกินดอกเบี้ย การเสียดอกเบี้ย เป็นต้น

3. เกี่ยวกับคุณลักษณะและความประพฤติที่มีผลต่อการศรัทธา ซึ่งข้อห้ามเหล่านี้ มีผลทำให้ผู้ประพฤติหรือมีอยู่ ต้องสิ้นสภาพอิสลามทันที เช่น การนับถือสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ การกราบสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ กระทำการอันเป็นการเหยียดหยาม ต่ออัลลอฮฺ ต่อมลาอีกะฮฺ ต่อศาสนทูต ต่อคัมภีร์ ต่อบทบัญญัติทางศาสนา ประวิงการเข้าอิสลามของผู้อื่น ใช้คำพูดกล่าวหามุสลิมว่า มิใช่มุสลิม การเชื่อโชคลาง ของขลัง ปฏิเสธอัลกุรอาน เป็นต้น

บทที่ 8


บทที่ 8

เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ต
จุดกำเนิดของอินเตอร์เน็ตเริ่มในทศวรรษที่ 1960 ในสมัยนั้นมีการใช้คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe) อย่างแพร่หลาย ส่วนคอมพิวเตอร์แบบพีซียังไม่มี ความคิดที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เมนเฟรมทั้งหลายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ทั้งระยะใกล้และระยะไกลนั้นเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น และเนื่องจากยุคนั้นเป็นยุคของสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตด้วย ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐจึงเห็นว่าการติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างคอมพิวเตอร์ถือได้ว่ามีประโยชน์ด้านทหาร
เพื่อให้ความคิดนี้เป็นจริง ดังนั้นในปี ค.ศ 1968 หน่วยงานที่ชื่ออาร์พา (Advance Research Project Agency , ARPA ) ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (U.S Department of Defense, DOD) จึงมีโครงการที่จะทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ในช่วงแรกทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถานที่ด้วยกันคือ
1.             สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (SRI International)
2.             มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส (University of California, Los Angeles(UCLA))
3.             มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา(University of California, Santa Barbara(UCSB))
4.             มหาวิทยาลัยยูทาห์ (University of Utah)

คอมพิวเตอร์จากสถานที่ทั้งสี่เริ่มสามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1969
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถานที่เป็นการเชื่อมต่อในลักษณะเป็นเน็ตเวิร์ก เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อในระยะไกล จึงเป็น WAN (Wide area network) เน็ตเวิร์กที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) และอาร์พาเน็ตเป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ตในเวลาต่อมา การติดต่อสื่อสารที่นิยมใช้กันในช่วงนั้นของอาร์พาเน็ตคือ จดหมายอิเล็กทรอนิกหรืออีเมล์ การสนทนาแบบออนไลน์ และ การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ จุดเด่นประการหนึ่งของอาร์พาเน็ตคือ เป็นเน็ตเวิร์กแบบไม่มีศูนย์กลาง หรือเป็นเน็ตเวิร์กแบบกระจาย เน็ตเวิร์กแบบมีศูนย์กลางนั้นเมื่อไรก็ตามที่ศูนย์กลางเกิดเสียหรือถูกทำลายจะทำให้ทั้งเน็ตเวิร์กทำงานไม่ได้ ส่วนเน็ตเวิร์กที่ไม่มีศูนย์กลางนั้นถ้าส่วนใดส่วนเกิดเสียขึ้นมา ส่วนที่เหลือยังคงสามารถทำงานต่อได้คือสามารถติดต่อสื่อสารกันได้

โปรโตคอล TCP/IP
ภายในเวลาไม่นานนักหน่วยงานอื่นๆได้เริ่มเห็นคุณประโยชน์ของการติดต่อสื่อสาร แบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในอาร์พาเน็ต ดังนั้นหน่วยงานเหล่านั้นจึงต้องการนำเอาบรรดา คอมพิวเตอร์ของหน่วยงานตนมาเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ตการที่คอมพิวเตอร์จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้นต้องใช้กฏเกณท์ด้านการสื่อสารเดียวกัน กฏเกณท์ด้านการสื่อสารในภาษาอังกฤษเรียกว่าโปรโตคอล (Protocol)เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดปัญหา ในการเชื่อมต่อ ทั้งนี้เพราะว่าคอมพิวเตอร์ที่ผลิตจากแต่ละบริษัทต่างก็ใช้โปรโตคอลของตนเอง เช่น คอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยไอบีเอ็มก็ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็ม และเมื่อนำคอมพิวเตอร์นั้นไปเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ต ก็ย่อมไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ทั้งหลายในอาร์พาเน็ตได้ ทั้งนี้ เพราะว่าอาร์พาเน็ตก็ใช้โปรโตคอลของตนเองไม่ได้ใช้โปรโตคอลของไอบีเอ็มเพื่อให้การนำเอาคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นมาเชื่อมต่อได้สดวก อาร์พาเน็ตต้องเปลี่ยนมาใช้โปรโตคอลที่สดวกต่อการเชื่อมต่อ และเป็นโปรโตคอลที่ไม่ได้เป็นของบริษัทหนึ่งบริษัทใดโดยเฉพาะ พร้อมทั้งข้อมูลทางด้านเทคนิคของโปรโตคอลนั้นเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะและ เป็นโปรโตคอลที่บริษัทและหน่วยงานส่วนใหญ่ยอมรับ โปรโตคอลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้คือ TCP/IP วินตัน เซิร์ฟ(Vinton Cerf) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และโรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) จาก BBN เป็นผู้พัฒนาโปรโตคอล TCP/IP อาร์พาเน็ตได้เปลี่ยนมาใช้โปรโตคอล TCP/IP ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 ผลก็คือทำให้หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานอื่นที่มาเชื่อมต่อเข้าอาร์พาเน็ตทำได้สดวกขึ้น กล่าวคือถ้าต้องการเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ตก็ปรับให้คอมพิวเตอร์สามารถใช้โปรโตคอล TCP/IP ได้ จำนวนคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อเข้ากับอาร์พาเน็ตได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆอย่างรวดเร็ว

Internet เน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์ก
ในทศวรรษที่ 1980 อาร์พาเน็ตได้ขยายตัวใหญ่ขึ้นอีก คือ ได้มีบรรดาเน็ตเวิร์กอื่น ๆเป็นจำนวนมากได้มาเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต ในตอนนี้กล่าวได้ว่าอาร์พาเน็ตประกอบขึ้นด้วยเน็ตเวิร์ก เป็นจำนวนมากมิได้มีเพียงเน็ตเวิร์กเดียว(ในตอนเริ่มต้น) เน็ตเวิร์กทั้งหลายในอาร์พาเน็ตพอจำแนกออกได้ดังนี้
·       ARPANET
·       MILNET เน็ตเวิร์กด้านทหาร
·       NSFNET (National Science Foundation network)
·       OTHER NETS เน็ตเวิร์กอื่นๆ เช่น Bitnet Usenet
สิ่งที่เกิดขึ้นกล่าวได้ว่าเป็นเน็ตเวิร์กของเน็ตเวิร์กโดยมีอาร์พาเน็ตเป็นเน็ตเวิร์กหนึ่งในนั้น ดังนั้นเพื่อให้สื่อความหมายจึ่งได้เปลี่ยนจากการใช้ชื่ออาร์พาเน็ตมาเป็นใช้ชื่ออินเตอร์เน็ต (Internet) แทนในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 และในช่วงเดียวกันนั้นกระทรวงกลาโหมของสหรัฐได้ตัดสินใจแยก MILNET เน็ตเวิร์กด้านทหารออกจากอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น