คำยินดี

ยินดีตอนรับเข้าสู่บล็อคเกอร์ของดิฉันนางสาวเสาวภา เจริญคง เอกสังคมศึกษา คบ.2 หมู่.3 รหัส.544110121 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องจองกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี เเละสารสนเทศทางการศึกษา
2.เพื่อรู้หลักการเเนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี เเละสารสนเทศ
3.เพื่อออกเเบบการเรียนการสอนได้
4.เพื่อรู้ถึงเเนวโน้มในอนาคตเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศเเละการเรียนการสอน
5.เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

คุณธรรม จริยธรรม

หลักคุณธรรม จริยธรรม

หลักคุณธรรม แบ่งออกได้เป็น 2 ด้าน

1. คุณธรรมที่ต้องประพฤติ

2. คุณลักษณะที่ละเว้น

คุณธรรมที่ต้องประพฤติ

หมายถึงความดีต่างๆ ที่ต้องประพฤติอยู่เสมอ อันได้แก่หน้าที่และมารยาทที่ต้องแสดงออก และคุณสมบัติที่ดีทางจิตใจ เช่น

1. หน้าที่ของบุคคลต่อพระเจ้า ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ตัวเองอยู่ต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงมองเห็นอยู่ตลอดเวลา จึงต้องทำแต่ความดี มีมารยาท และละเว้นการกระทำที่ผิดต่อบทบัญญัติของพระองค์

2. หน้าที่ของผู้รู้ ครูและผู้รู้โดยทั่วไป จะต้องสำนึกอยู่เสมอว่า ความรู้ที่ตนได้มานั้น เป็นไปโดยความเมตตาของผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงประทานให้ ดังนั้น จึงต้องเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่น ให้ได้รับความรู้ โดยไม่มุ่งหวังอามิสสินจ้างใดๆ ทั้งสิ้น และไม่นำความรู้ ไปสร้างสมบารมี หรือนำความรู้ไปแข่งขันกับใคร หรือทับถมผู้รู้อื่นๆ หรือหาประโยชน์อันมิชอบ

3. หน้าที่ของผู้ไม่รู้ ผู้ไม่รู้จะต้องศึกษาเพื่อจะได้มีความรู้ ความรู้มิได้จำกัดแต่เฉพาะความรู้ทางด้านสามัญ หรือ ศาสนา ด้านใดด้านหนึ่ง มุสลิมจะต้องเรียนรู้ความรู้ทั้งสองด้าน จนสามารถนำความรู้ความสามารถ ไปประพฤติทางด้านศาสนาอย่างดี และนำความรู้ด้านสามัญหรือวิชาชีพ ไปประกอบสัมมาอาชีพต่อไป และผู้เรียนรู้ทุกคน จะต้องให้ความเคารพต่อผู้สอน มีความนอบน้อมถ่อมตน พูดจาสุภาพ อ่อนโยน และคอยอุปถัมภ์ผู้สอนของตนอยู่เสมอ

4. หน้าที่ของลูก ลูกทุกคนมีหน้าที่ต้องระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ ต้องมีความกตัญญูกตเวทิคุณ ต่อท่านทั้งสอง ต้องคิดอุปการะท่านทั้งสอง ไม่ปล่อยให้ท่านทั้งสองต้องเดียวดาย อยู่กับความเหงา และต้องปรนนิบัติท่านทั้งสอง เป็นอย่างดีที่สุด

5. หน้าที่ของพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่มีลูก ก็ต้องเลี้ยงดูลูกอย่างดี ให้การดูแล ให้ความสุข ให้การศึกษา คอยอบรมบ่มนิสัย ให้เป็นคนดี มีมารยาท ไม่ปล่อยปละละเลยต่อลูก จนขาดความอบอุ่นทางจิตใจ เตลิดออกไปหาความสนุกสนานนอกครอบครัว พ่อแม่ต้องสร้างสถาบันครอบครัว ให้เป็นความหวังของลูก เป็นสวรรค์ของลูก อย่าทำให้เป็นนรกของลูก

6. หน้าที่ของเพื่อน คนทุกคนมีเพื่อน ไม่ว่าเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อนร่วมหมู่บ้าน จนถึงเพื่อนร่วมโลก ทุกคนต้องหวังดีกัน มีความประพฤติที่ดีต่อกัน ไม่ดูถูก ไม่เกลียด ไม่อาฆาตแค้น ไม่ทับถมหรือทำลายใคร ต่างคิดที่จะอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข

7. หน้าที่ของสามี ทั้งสามี - ภรรยา จะต้องมีหน้าที่พึงปฏิบัติต่อกัน กล่าวคือ สามีต้องรับผิดชอบ ในด้านการปกครองครอบครัว และการหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว และสามีจะต้องเป็นที่พึ่งของครอบครัว มีความประพฤติที่ดีงาม ต่อคนในครอบครัว เป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่คนในครอบครัวโดยสม่ำเสมอ ไม่ทิ้งครอบครัวออกไปหาความสุขนอกบ้าน และต้องตักเตือนและสอนภริยาและคนในครอบครัว

8. หน้าที่ของภริยา ภริยามีหน้าที่ช่วยเหลือสามีในด้านต่างๆ คอยสอดส่องดูแล เป็นกำลังใจให้สามี ให้ความสุขแก่สามี และต้องต้อนรับแขกของสามีด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส และด้วยความจริงใจ ไม่นินทาสามีลับหลัง ไม่บ่นหรือก้าวร้าวสามี หากสามีทำผิด ก็เตือนด้วยความหวังดี และครองสติ ไม่โมโห ให้เกียรติสามี และอยู่ในโอวาทของสามี

9. หน้าที่ของผู้นำ ผู้นำทางสังคมในตำแหน่งต่างๆ ที่ถูกแต่งตั้งหรือเลือกตั้งก็ตาม จะต้องปฏิบัติตนต่อผู้ตาม ด้วยความเมตตาและด้วยความนอบน้อม ไม่ถือตัว พูดจาสุภาพอ่อนโยน เมื่อจะใช้อำนาจ ก็ใช้ด้วยความยุติธรรม มีความกล้าหาญ และกล้าตัดสินใจ ไม่ลังเล ไม่อ่อนแอ ไม่ขลาดกลัว ต้องประพฤติดี พร้อมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับประชาชน ต้องเสียสละทุกสิ่ง เพื่อประชาชน

10. หน้าที่ของประชาชน ประชาชนในฐานะผู้ตาม จะต้องเคารพผู้นำกฎต่างๆ ที่ออกมาโดยชอบธรรม ประชาชนต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด ผู้ตามจะคิดกระด้างกระเดื่องไม่ได้ แต่ก็กล้าหาญที่จะเตือนผู้นำ เมื่อผู้นำทำผิด หรือออกกฎหมายโดยไม่ชอบธรรม ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่ดี รักษาและปกป้องเกียรติยศ ของผู้นำที่มีคุณธรรม ไม่ละเมิดต่อสิทธิของผู้นำ และสิทธิของประชาชนด้วยกัน

คุณลักษณะที่ต้องละเว้น

มีคุณลักษณะที่มุสลิมต้องละเว้นอยู่มากมาย ล้วนเป็นข้อห้ามที่อิสลามได้บัญญัติไว้ พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. เกี่ยวกับคุณลักษณะด้านร้ายทางจิตใจ ซึ่งเมื่อใครมี หัวใจของเขาก็จะมืดบอด เช่น ความโกรธ ความอิจฉา ริษยา ความเกลียดชัง ความตระหนี่ ความโลภ ความยะโส ความลำพอง ความโอ้อวด เป็นต้น

2. เกี่ยวกับความประพฤติโดยทั่วไป เช่น ความฟุ่มเฟือย การพูดมาก ความเกียจคร้าน การเอารัดเอาเปรียบ การดูถูกคนอื่น การรังแกผู้อื่น การฉ้อโกง การนินทาใส่ร้าย ส่อเสียด การลักขโมย การปล้น การฉกชิงวิ่งราว การล่วงประเวณี การพนัน การประกอบอาชีพทุกจริต การดื่มสุราและของมึนเมา การกินดอกเบี้ย การเสียดอกเบี้ย เป็นต้น

3. เกี่ยวกับคุณลักษณะและความประพฤติที่มีผลต่อการศรัทธา ซึ่งข้อห้ามเหล่านี้ มีผลทำให้ผู้ประพฤติหรือมีอยู่ ต้องสิ้นสภาพอิสลามทันที เช่น การนับถือสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ การกราบสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ กระทำการอันเป็นการเหยียดหยาม ต่ออัลลอฮฺ ต่อมลาอีกะฮฺ ต่อศาสนทูต ต่อคัมภีร์ ต่อบทบัญญัติทางศาสนา ประวิงการเข้าอิสลามของผู้อื่น ใช้คำพูดกล่าวหามุสลิมว่า มิใช่มุสลิม การเชื่อโชคลาง ของขลัง ปฏิเสธอัลกุรอาน เป็นต้น

บทที่ 3


บทที่ 3

การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
การเรียนรู้ (Learning)การเรียนรู้โดยทั่วไป หมายถึง ความสัมพันธ์ต่างๆ จนถึงขั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีความสามารถในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรืออาจหมายถึงกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
การสอน (Instruction)หมายถึง การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้การศึกษาและการฝึกอบรมโดยทั่วไป ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูสื่อสาร และวิธีสอน1. สื่อ ( Medium หรือ Media) สื่อเป็นช่องทางของการสื่อสาร (Communication) มาจากรากศัพท์ภาษาลาติน หมายถึง ระหว่าง (Between) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นพาหะนำความรู้หรือสารสนเทศ (Information) ระหว่างผู้สื่อกับผู้รับเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสาร ตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ผู้สอนและอื่นๆ ซึ่งเมื่อใช้สิ่งเหล่านี้นำสารเพื่อการเรียนการสอน เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า
การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส อาจอยู่ในรูปแบบของท่าทางสัญลักษณ์ บ้างอย่างอยู่ในรูปแบบของภาษา การสื่อสารเกิดจากความต้องการที่คนจะส่งข้อมูลหากัน
คำว่า  การสื่อสาร (communications)มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communisหมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   การสื่อสาร (communication)    หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
การสอนเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
2. ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น
3. สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสและตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์
4. ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเองการสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

ประเภทของการสื่อสาร
การจำแนกประเภทของการสื่อสาร มีผู้จำแนกไว้หลาย ๆ ประเภท โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา ตามจุดประสงค์ของการศึกษาหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำเสนอ ซึ่งสรุปได้ตามตารางดังนี้
1.จำนวนผู้ทำการสื่อสาร
1.1การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonal communication)
-การพูดกับตัวเอง
-การร้องเพลงฟังเอง
-การคิดถึงงานที่จะทำ เป็นต้น
1.2การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication) การพูดคุยระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป
-การพูดคุย
-การเขียนจดหมาย
1.3การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (large group communication)
-การอภิปรายในหอประชุม
-การพูดหาเรื่องเลือกตั้ง
1.4การสื่อสารในองค์กร (organizational communication)
-การสื่อสารในบริษัท
-การสื่อสารในหน่วยงาน ราชการ
-การสื่อสารในโรงงาน
-การสื่อสารของธนาคาร
1.5การสื่อสารมวลชน (mass communication)การสื่อสารที่ผ่านสื่อเหล่านี้ คือ
-หนังสือพิมพ์, นิตยสาร
-วิทยุ
-โทรทัศน์
-ภาพยนตร์
2.การเห็นหน้ากัน
2.1การสื่อสารแบบเผชิญหน้า(face to face communication)
-การสนทนาต่อหน้ากัน
-การประชุมสัมมนา
-การสัมภาษณ์เฉพาะหน้า
2.2การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า(interposed communication)
- เอกสารการสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด คือ
-วิทยุ
-โทรทัศน์
-อินเตอร์เน็ต
3.ความสามารถในการโต้ตอบ
3.1การสื่อสารทางเดียว (one-way communication)การสื่อสารที่ผ่านสื่อมวลชนทุกชนิด คือ
-วิทยุ/โทรทัศน์/วีดิทัศน์
-ภาพยนตร์
3.2การสื่อสารสองทาง (two-way communication)
-การสื่อสารระหว่างบุคคล
-การสื่อสารในกลุ่ม
-การพูดคุย / การสนทนา   เป็นต้น
4.ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
4.1การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ (interracial communication)
4.2การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม (gosscultural communication)
4.3การสื่อสารระหว่างประเทศ (international communication)
5.การใช้ภาษา
5.1การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal communication)
-การพูด, การบรรยาย
-การเขียนจดหมาย, บทความ
5.2การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา (non-verbal communication)
-การสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ, คำพูด
-อาการภาษา, กาลภาษา, เทศภาษา, สัมผัสภาษา, เนตรภาษา, วัตถุภาษา

บทบาทของสื่อในการเรียนการสอน
ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า สื่อและเทคโนโลยีการสอน สนับสนุนยุทธวิธีเบื้องต้นของการเรียนการสอนได้หลายประการ ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
1.ใช้สื่อ/เทคโนโลยีช่วยการสอนของครู การใช้สื่อลักษณะนี้เป็นวิธีที่เรารู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด โดยครูนำสื่อมาใช้เพื่อช่วยการสอน
2.สื่อช่วยผู้เรียนฝึกทักษะและการปฏิบัติได้ เป็นการจัดสื่อไว้ในลักษณะห้องปฏิบัติการ โดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้ภายใต้การชี้แนะของครู
3.ช่วยการเรียนแบบค้นพบ สื่อการสอนสามารถช่วยการจัดการเรียนการสอนแบบค้นพบหรือการสอนแบบสืบเสาะ (Inquiry Approach) ได้เป็นอย่างดี
4.สื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับการสอน สื่อการเรียนการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนกับผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
5.สื่อ/เทคโนโลยีในการสอนแบบเอกัตบุคคล การสอนแบบเอกัตบุคคลเป็นวิธีสอนที่กำลังได้รับความสนใจกันมากในปัจจุบัน การสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นรายบุคคลภายใต้คำแนะนำหรือการชี้แนะของครู โดยอาศัยระบบสื่อที่จัดขึ้นไว้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามจุดมุ่งหมายของการสอน
6.ช่วยการศึกษาพิเศษ สื่อการสอนสามารถจัดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การศึกษาแก่คนพิการได้เป็นอย่างดี เรียกว่าสื่อช่วยในการจัดการศึกษาพิเศษได้
7.สื่อการสอนกับการศึกษานอกระบบ จากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความรู้ทางวิชาการ สื่อการสอนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการให้การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในหรือ นอกห้องเรียน ตลอดจนการศึกษาแบบทาง

ประโยชน์ของการสื่อสาร
1)การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร
2)ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูลหากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง
3)ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว
4)ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น

อุปสรรคในการสื่อสาร
อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร   อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1.อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
1.1 ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
1.2  ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
1.3  ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี และไม่เหมาะสม
1.4  ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
1.5  ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
1.6  ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
2.อุปสรรคที่เกิดจากสาร
2.1  สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร อาจยากหรือง่ายเกินไป
2.2  สารขาดการจัดลำดับที่ดี สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
2.3  สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
2.4  สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ ขาดความชัดเจน
3.อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อหรือช่องทาง
3.1  การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
3.2  การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
3.3  การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
4.อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
4.1  ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
4.2  ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
4.3  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
4.4  ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
4.5  ผู้รับสารมีความคาดหวังในการสื่อสารสูงเกินไป

โดยสรุปจะเห็นได้ว่าการสอนเป็นการจัดข้อมูลข่าวสารและสิ่งแวดล้อมโดยมีสื่อช่วยก่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการสอสารเพื่อการเรียนการสอน ก็คือการขยายประสบการณ์แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางนั้นเอง














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น